โรคภูมิแพ้2

เป็นภูมิแพ้กินยาแก้แพ้แล้วจะหายไหม

ภูมิแพ้ เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้จึงทำให้เกิดอาการแพ้ โดยภูมิแพ้ที่พบมากถึง 20% ของประชากร คือ ‘ภูมิแพ้อากาศ’ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาการภูมิแพ้ อาจไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ได้สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยและทำให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพแย่ลง

ปัจจัยที่ทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ

  1. สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิและความชื้นในอากาศก็เปลี่ยนแปลงตาม ทำให้เชื้อโรค ฝุ่นละออง และสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ได้ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อร่างกายได้รับสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้กำเริบ

  1. ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้

สารก่อภูมิแพ้กระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาทางระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีหลากหลายแหล่งที่มีทั้งในอากาศ อาหาร ยา หรือสารเคมีต่างๆ เมื่อร่างกายได้สัมผัสกับสารก่อภูมิโดยตรง อาจทำให้มีอาการจาม คัดจมูก ระคายเคือง ผดผื่นคัน หรือผิวหนังบวมแดงจากการอักเสบ

  1. ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ

จากสถิติพบว่าคนในวัยทำงานหรือพนักงานออฟฟิศ มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องมาจากการทำงานหนัก มีความเครียดสะสม ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง

โรคภูมิแพ้2

ยาแก้แพ้คืออะไร

ยาแก้แพ้ (anti-histamine) เป็นกลุ่มยาต้านสารฮีสตามีน ที่จะถูกนำมาใช้เมื่อมีอาการภูมิแพ้กำเริบ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม ผดผื่นคัน ขอบตาระคายเคือง ลมพิษ หรือแพ้อาหาร เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ จนเกิดอาการภูมิแพ้และหลั่งสารฮีสตามีนออกมาจึงทำให้เกิดอาการดังกล่าว

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้

  1. ไม่รับประทานยาแก้แพ้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาที่ออกฤทธิ์กดสมองและยาระงับประสาท เพราะจะยิ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์กดประสาท และทำให้ง่วงซึมมากกว่าเดิม
  2. ยาแก้แพ้บางชนิด มีข้อจำกัดใช้ในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานยาแก้แพ้เอง ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกชนิดและขนาดการกินที่เหมาะสม
  3. ผู้ที่รับประทานยาแก้แพ้ควรงดการขับขี่รถยนต์ และงดทำงานที่ใกล้ชิดกับเครื่องจักรกล เพราะยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้มีอาการง่วงซึมและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ หากมีอาการภูมิแพ้ที่ต้องรับประทานยา ควรหยุกพักผ่อนหรือเลือกชนิดยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้มีอาการง่วงซึม ดังนั้นควรเลือกรับประทานยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง จึงเป็นทางออกที่ดีกว่าและไม่รบกวนคุณภาพชีวิตอีกด้วย
  4. ยาแก้แพ้รุ่นที่1 อาจทำให้มีเสมหะเหนียวข้นมากกว่าเดิม หากกินยาแก้แพ้แล้วมีอาการไอเพิ่มขึ้น ควรหยุดกินยาทันที

วิธีเลือกยาแก้แพ้

  1. ควรเลือกยาแก้แพ้ที่เหมาะกับตัวเอง และจุดประสงค์ต่อการใช้งาน
  2. ยาแก้แพ้ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ดี ควรออกฤทธิ์ได้เร็วและสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 24 ชั่วโมง เพื่อครอบคลุมอาการตลอดทั้งวัน
  3. ยาแก้แพ้ในรูปแบบแคปซูลนิ่มเป็นการพัฒนาเพื่อให้ยาแก้แพ้สามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว ไม่ต้องรอการแตกตัวของยา และไม่จำเป็นต้องรับประทานหลายเม็ด
  4. ลอราทาดีน (loratadine) และเซทิริซีน (cetirizine) จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีผลข้างเคียงน้อย ไม่ทำให้มีอาการง่วงซึม แต่อาจมีอาการง่วงซึมเล็กน้อยในผู้ใช้ยาบางราย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องขับขี่ยานพาหนะ

วิธีป้องกันไม่ให้อาการภูมิแพ้กำเริบ

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นและสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ มลพิษจากท้องถนน หรือสารเคมีต่างๆ ตามสถานที่หรือบริเวณที่อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการภูมิแพ้กำเริบ
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
  3. สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรทำความสะอาดบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นประจำ เพื่อกำจัดฝุ่นละอองและสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ และควรเปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือปลอกหมอนอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อเดือน สามารถเป็นการลดสารก่อภูมิแพ้ที่อาจทำให้ภูมิแพ้กำเริบได้
  4. การออกกำลังกาย สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงโรคภูมิแพ้อีกด้วย การออกกำลังกายควรทำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรงขึ้น
  5. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะสารอาหารและวิตามินต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง เช่น วิตามินซี วิตามินดี สังกะสี และสารต้านอนุมูลอิสระ

พื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี คือการมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง ดังนั้นควรหมั่นใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ เลือกรับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และหากิจกรรมยามว่างเพื่อผ่อนคลายความเครียด เพราะสุขภาพดีไม่มีขาย จึงต้องเริ่มต้นที่ตัวคุณเอง

ยาแผนโบราณ

ยาแผนโบราณที่ไม่ขึ้นทะเบียน อาจเกิดเสี่ยงอันตราย

อย. เตือนภัยผู้บริโภค อย่าซื้อยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา เสี่ยง อันตรายจากการปนเปื้อนยาสเตียรอยด์ พร้อมแนะ ควรซื้อจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น หรือปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนซื้อหรือใช้ยาทุกครั้ง หากพบเห็นหรือสงสัยว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณผิดกฎหมาย ขอให้ร้องเรียน สายด่วน อย. 1556

ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณ พบว่า ในปัจจุบันยังมีการลักลอบใส่ยาสเตียรอยด์ ลงในยาแผนโบราณ เพื่อต้องการให้ผู้ที่ใช้ยาดังกล่าวรู้สึกว่าอาการป่วยดีขึ้นและหายเร็วทันใจ อีกทั้งยังมีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่า สามารถรักษาได้สารพัดโรค เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง เอดส์ เบาหวาน เนื้องอกทุกชนิด ต่อมลูกหมากโต ฯลฯ ซึ่งมีประชาชนบางส่วนหลงเชื่อคำโฆษณาซื้อยาแผนโบราณดังกล่าวมาใช้จนได้รับอันตรายจากยาสเตียรอยด์

ยาแผนโบราณ

อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ยาสเตียรอยด์เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากเป็นยาที่มีความเป็นพิษสูง และมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้น การใช้ยาสเตียรอยด์จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ หรือให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น หากผู้บริโภครับประทานยาแผนโบราณที่มีการปนเปื้อนยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อระบบร่างกายได้ เช่น กระเพาะอาหารทะลุหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการสะสมไขมันผิดที่ ใบหน้ากลมบวมแบบพระจันทร์ (moon face) ไตวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น ทำให้กลไกการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเสียไปและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

รองเลขาธิการ ฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อโฆษณายาแผนโบราณใด ๆ ที่อวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค เพราะนอกจากจะเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกต้องแล้ว ยังต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ มิหนำซ้ำอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากต้องการซื้อยาแผนโบราณ

มาใช้ ขอให้ซื้อจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น หรือหากจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนซื้อหรือใช้ยาทุกครั้ง และขอให้ผู้บริโภคพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน โดยฉลากต้องระบุ ชื่อยา เลขทะเบียนตำรับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ g 888/50 ปริมาณของยาที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตยา และแสดงคำว่า “ยาแผนโบราณ” ให้เห็นได้ชัด หรือแสดงคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” กรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน เป็นต้น

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย. หรือมีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด และเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค

ยาสูงอายุ

ยาในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ยามากกว่าประชากรวัยอื่น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนั้น มักมีโรคเรื้อรัง ทำให้มีโอกาสรักษากับแพทย์ หลายคนและพบว่าร้อยละ90ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีใช้ยาอย่างน้อย 1ชนิดต่อสัปดาห์ และจำนวนยาที่ใช้สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปฏิกิริยาระหว่างยา และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ยาในผู้สูงอายุทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ง่ายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามวัย อาทิ การดูดซึมและการกำจัดยาออกจากร่างกายทำได้ลดลง นอกจากนั้นผู้สูงอายุซึ่งมีปัญหาด้านสายตาและความจำยังมีความเสียงที่จะใช้ยาผิดได้มากอีกด้วย

กลุ่มยานี้มีความเสี่ยงสูง

  • กลุ่มยานอนหลับและยากล่อมประสาท
  • กลุ่มยาต้านซึมเศร้า
  • กลุ่มยาแก้ปวดลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ZSAIDAs)
  • กลุ่มยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ
  • กลุ่มยาต้านเกร็ดเลือด
  • กลุ่มยาแก้อาเจียน
  • กลุ่มยาลดแพ้ Anti-histamine
ยาสูงอายุ

กลุ่มยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ

  1. กลุ่มยารักษาโรคประจำตัว อาทิ ยาลดความดันโลหิต ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยารักษาโรคหัวใจ
  2. กลุ่มยานอนหลับและคลายกังวล
  3. กลุ่มยาแก้ปวดและคลายกล้ามเนื้อ
  4. กลุ่มยาวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  1. การได้ยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ทำให้ยามีปฏิกิริยาต่อกันหรือยาตีกัน ซึ่งเกิดจากยาชนิดหนึ่งไปมีผลแทรกแซงยาอีกชนิดหนึ่ง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าได้รับยาลดความดันโลหิตชนิดขับปัสสาวะจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
    ทำให้การรักษาโรคเบาหวานไม่ได้ผล หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่เป็นประจำและชอบรับประทานใบแปะก๊วยเป็นอาหารเสริม จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย
  2. การเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยาในการออกฤทธิ์และกำจัดยาออกฤทธิ์และกำจัดยาออกจากร่างกาย
  3. พฤติกรรมของผู้ป่วยสูงอายุ
    • การซื้อยารับประทานเอง ในประเทศไทยการซื้อยาตามร้านขายยาทำได้สะดวก ผู้สูงอายุจำนวนมากมักซื้อยาชุดหรือยาแฝงมาในรูปยาลูกหลอนมารับประทาน เช่น ผู้ที่มีปัญหาปวดตามข้อโดยมักเข้าใจว่าปลอดภัยเพราะผลิตจากสมุนไพร แต่มักมีการผสมยากลุ่มสเตียรอยด์ จึงส่งผลเสียในระยะยาว เช่น กระดูกพรุน ต่อมหมวกไตฝ่อ และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  1. ขาดการติดตามการรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุจำนวนมากมักไม่ชอบมาพบแพทย์เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น กลัวรบกวนคนใกล้ชิด กลัวเสียเวลาและค่าใช้จ่าย การคมนาคมไม่สะดวก จึงพบได้บ่อยกว่าญาติมาขอรับยาเดิมจากแพทย์โดยไม่พาผู้ป่วยมาติดตามการรักษากับแพทย์
  2. การไม่รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยหลายรายมักใช้ยาผิดพลาดเนื่องจากสาเหตุต่างๆเช่น
  • การใช้ยายุ่งยาก ผู้ป่วยไม่เข้าใจวิธีการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น รับประทานวันละหลายครั้ง
  • ผู้ป่วยหยุดยาเองโดยไม่แจ้งแพทย์เพราะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
  • สายตาไม่ดี หลงลืม ฉลากยาที่เขียนไม่ชัดเจนจึงรับประทานยาผิด
  • ทัศนคติของผู้ป่วยต่อยา เช่น รับประทานยามากๆจะทำให้ตับและไตวาย จึงหยุดใช้ยาไปเอง หรือบางรายคิดว่าควรเพิ่มปริมาณการใช้ยาเพื่อจะได้หายจากโรคโดยเร็ว
  1. การเก็บสะสมยา สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยและมีโรคเรื้อรังมักจะได้รับยาหลายชนิด เมื่อใช้ยาไม่หมดก็จะเก็บสะสมยาไว้ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยอีกครั้งก็จะเลือกรับประทานยาเดิมที่เคยรับประทานได้ผล ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้หากยานั้นหมดอายุแล้ว

ในผู้สูงอายุกลุ่มยาที่นิยมใช้มากคือ กลุ่มยานอนหลับและยาแก้ปวดซึ่งยา 2 กลุ่มนี้ไม่ได้รักษาที่สาเหตุของโรค แต่อาจบรรเทาอาการให้ทุเลาลงเป็นครั้งคราวดังนั้นการใช้ยาต้องทำร่วมกับการรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับและเกิดอาการปวด ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์